วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN

 ASEAN

"One  Vision,One  Identity, One Community"                                                       หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

 







กำเนิดอาเซียน

       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

        ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

        วัตถุประสงค์ ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

สีเหลือง หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง 

สีแดง    หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

สีขาว    หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 

สีน้ำเงิน· หมายถึง··สันติภาพและความมั่นคง

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

         ในการ ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็น องค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

(1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน(2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก(3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก(4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง(5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ(6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม(7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที(8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ(9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

         กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

           ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

         ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)

         ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)

         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)

           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ    

          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุข และไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community-AEC)

          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ 4 ด้าน คือ

         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)

          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ   ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน(ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

          ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญา ชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคม อาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้าง ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้

1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับ สนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่าน หลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียน และเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชน และค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้ นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

         พัฒนา พัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไป สู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนัก ศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้าน การศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมี ฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้อง ดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษา และวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดย มุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งใน ระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน

3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

         พัฒนา เนื้อหา สาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึก อบรมและการสอน   ของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัย เสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน  ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่ มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรอง การมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับ มหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชนสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศ สมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทาง ด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาค ให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็น และเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ใน ประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรใน โรงเรียน และการมอบรางวัลโรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่อง หมายและสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะ ได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียน ดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา

         รวม ทั้งข้อ ตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงาน ต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผล การคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอา เซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน ที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกัน และประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การ บรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้

         นโยบายที่ 1 การ เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558

         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอา เซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน

         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน  

รวมทั้งเพื่อ ให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิก ของอาเซียน

           นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่าง ๆ  เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน

          นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)


บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam

Head of State : His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu'izzaddin Waddaulah 
Capital : Bandar Seri Begawan
Language(s) : Malay, English
Currency : B$ (Brunei Dollar)
Ministry of Foreign Affairs & Trade of Brunei Darussalam Website: www.mfa.gov.bn  


 ราชอาณาจักรกัมพูชา Cambodia

Head of State : His Majesty King Norodom Sihamoni
Head of Government : Prime Minister Hun Sen
Capital : Phnom Penh
Language : Khmer
Currency : Riel Ministry of Foreign Affairs & International Cooperation of Cambodia Website:
www.mfaic.gov.kh


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  Indonesia

Head of State : President Susilo Bambang Yudhoyono
Capital : Jakarta
Language : Indonesian
Currency : Rupiah
Department of Foreign Affairs of Indonesia Website:
www.deplu.go.id 




สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Lao PDR

Headof State : President Choummaly Sayasone 
Head of Government : Prime Minister Bouasone Bouphavanh
Capital : Vientiane
Language : Lao
Currency : Kip
Ministry of Foreign Affairs of Lao PDR Website:
www.mofa.gov.la




มาเลเซีย Malaysia

Head of Government : The Honourable Dato' Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak
Capital : Kuala Lumpur
Language(s) : Malay, English, Chinese, Tamil
Currency : Ringgit 
Ministry of Foreign Affairs of Malaysia Website:
www.kln.gov.myASEAN-Malaysia National Secretariat Website: www.kln.gov.my/myasean

  


สหภาพหม่า Myanmar

Head of State : Senior General Than Shwe
Head of Government : Prime Minister General Thein Sein
Capital : Nay Pyi Taw
Language : Myanmar
Currency : Kyat 
Ministry of Foreign Affairs of Myanmar Website:
www.mofa.gov.mm




สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Philippine

Head of State : President Benigno S. Aquino III
Capital : Manila
Language(s) : Filipino, English, Spanish
Currency : Peso
Department of Foreign Affairs of the Philippines Website:
www.dfa.gov.ph

  


สาธารณรัฐสิงคโปร์ Singapore

Head of State : President S R Nathan
Head of Government : Prime Minister Lee Hsien Loong
Capital : Singapore
Language(s) : English, Malay, Mandarin, Tamil
Currency : S$ (Singapore Dollar)
Ministry of Foreign Affairs of Singapore Website:
www.mfa.gov.sg




ราชอาณาจักรไทย   Thailand

Head of State : His Majesty King Bhumibol Adulyadej
Head of Government : Prime Minister Abhisit Vejjajiva
Capital : Bangkok
Language : Thai
Currency : Baht
Ministry of Foreign Affairs of Thailand Website:
www.mfa.go.th




 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  Viet Nam

Head of State : President Nguyen Minh Triet
Head of Government : Prime Minister Nguyen Tan Dung
Capital : Ha Noi
Language : Vietnamese
Currency : Dong
Ministry of Foreign Affairs of Viet Nam Website:
www.mofa.gov.vn
 

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับอาเซียน

ASEAN ย่อมาจากอะไร

-Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง

-5  ประเทศ  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย

 ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

- กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว

อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น

อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร

- หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน

- ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง


รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน

สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง

 สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า

สีขาว     หมายถึง   ความบริสุทธิ์

สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง

 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด

- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด

- ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

- กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานชิ้นที่3 การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

งานชิ้นที่3 การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

  รัชกาล ที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาเป็นอันมาก ทั้งในวิชาอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ โบราณคดี ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี มวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง ตลอดจนวิชาวิศวกรรม อีกทั้งยังได้เสด็จประพาสต่างประเทศ ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ เเละขณะขึ้นครองราชย์สมบัติอีกหลายครั้ง ดังนั้นในการปกครองประเทศพระองค์จึงนำเอาการบริหารต่างประเทศมาดัดแปลงให้ เข้ากับประเทศไทย เช่น การจัดทหาร ก็ให้ฝึกตามแบบอย่างของฝรั่ง การศาลก็มีการแก้ไขกฎหมายและกระบวนการพิจารณาความต่างๆ ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น ยกเลิกวิธีพิจารณาความด้วยการทรมานต่างๆที่ผิดมนุษยธรรม ทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นบริหารราชการ ยิ่งกว่านั้นยังทรงโปรดการประพาสตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทรงทราบความทุกข์สุขของประชาชนของพระองค์อยู่เสมอ

การปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5


มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ 2. องคมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้
กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา คือ 6 กรมเดิมที่มีมาและต่อมาได้ตั้งขึ้นใหม่อีก 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงนครบาล
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
6. กระทรวงวัง
7. กระทรวงเกษตราธิการ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงธรรมการ
กระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งประเทศราศทางเหนือ
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
3. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร
5.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่าง ๆ
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงินของแผ่นดิน
7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า และโฉนดที่ดิน
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับศาล
9. กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง การไปรษณีย์ การสื่อสาร
12. กระทรวงมุรธาธร มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร หนังสือราชการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์


กระทรวงต่างๆ

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวงคลองหลอด

หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ

1.ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้ง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการรักษาความมั่นคงของชาติ

2.ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของ ประชาชน รับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ

3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น

4.ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง กระทรวงกลาโหมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลที่รับผิดชอบทางด้านการป้องกันประเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานทางการทหารหลายสาขา กระทรวงนครบาล

ในสมัยรัชกาลที่ 5ได้ทรงจัดตั้ง "กระทรวงนครบาล"ขึ้น มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกครองท้องที่ มีหน่วยงาน กรมกองตระเวน (ตำรวจ) และทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงนครบาล ทรงได้รับสนองพระบรมราชโองการล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โดยปฏิรูปงานของกรมพลตระเวนหรือตำรวจนครบาลให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และกำหนดระบบงานต่างๆขึ้นมามากมาย อันถือเป็นรากฐานสำคัญในการจัดระบบราชการ และของตำรวจนครบาลตั้งแต่นั้นมารัชกาลที่ 5 ทรงเร่งรัดงานตำรวจมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ปรากฏเป็นพระราชหัตเลขาหลายฉบับ ที่พระองค์ทรงเอาใจใส่ ดังนั้นการที่ตำรวจนครบาลในยุคปัจจุบันที่ถูกเร่งรัดงานจากผู้บังคับบัญชา ระดับสูง กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมายและไม่ อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัด ระบบการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม ประวัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้ง "กระทรวงธรรมการ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ "กระทรวงธรรมการ" และ "กระทรวงศึกษาธิการ" อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า "กระทรวงศึกษาธิการ" ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่ "วังจันทรเกษม" จนถึงปัจจุบัน


การบริหารราชการส่วนภูมิภาค โปรดฯให้จัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม่ ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑลดังนี้ มณฑลลาวเฉียงหรือมณพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์ มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา มีศูนย์กลางอยู่ที่พระตะบอง มณฑลลาวกลางหรือมณฑลราชสีมา มีศูนย์กลางอยู่ที่นครราชสีมา มณฑลภูเก็ต มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต มณฑลพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่พิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราจีนบุรี มณฑลราชบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม มณฑลนครสวรรค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา มณฑลนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มณฑลไทรบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ไทรบุรี มณฑลจันทบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่จันทบุรี มณฑลปัตตานี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี มณฑลชุมพร มีศูนย์กลางอยู่ที่ชุมพร มณฑลกรุงเทพฯ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มณฑลกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 6 เมืองได้แก่ พระนคร ธนบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครเขื่อนขันธ์ และสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษ รายงานผลเลือกตั้ง

งานพิเศษ รายงานผลเลือกตั้ง

รายงานผลการเลือกตั้ง

นับคะแนนไปแล้ว
100 %
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ35,203,107 คน75.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (แบ่งแขต)1,419,088 บัตร4.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (บัญชีรายชื่อ)958,052 บัตร2.72 %
บัตรเสีย (แบ่งแขต)2,039,694 บัตร5.79 %
บัตรเสีย (บัญชีรายชื่อ)1,726,051 บัตร4.9  %


คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ

ที่มา Bangkok Pundit

พรรคคะแนนร้อยละที่นั่ง
พรรคเพื่อไทย (พท.)15,743,41048.0%61
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)11,433,50135.1%44
พรรคภูมิใจไทย (ภท.)1,281,5224.03%5
พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์)998,5273.0%4
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)494,8941.6%2


พรรคการเมืองที่ได้จำนวนที่นั่งสูงสุด 5 อันดับแรก

ที่มา: มติชน

อันดับพรรคการเมืองจำนวนที่นั่งแบบแบ่งแขตจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนที่นั่งรวม
1พรรคเพื่อไทย (พท.)20461265
2พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)11544159
3พรรคภูมิใจไทย (ภท.)29534
4พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)15419
5พรรคหลังชล617
5พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)527

พรรคร่วมรัฐบาล 6 คน
1.นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคกิจสังคม ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2.นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
3.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา รมช.เกษตรและสหกรณ์ ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
4.นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
5.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา รองนายกฯ ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
6.ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
ฝ่ายค้านแต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมฝ่ายค้านทั้งสิ้นกี่คน

พรรคฝ่ายค้าน 7 คน ดังนี้
1.นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.นายสมพล เกยุราพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
3.นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
4.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
5.นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาราช ถือหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
6.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
7.นายอิทธิเดช แก้วหลวง ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

งานพิเศษ มรดกโลก

งานพิเศษ มรดกโลก

มรดกโลก
มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น
ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป



ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด

     ลำดับประเทศ / รวม
  1. อิตาลี / 41
  2. สเปน / 40
  3. จีน / 35
  4. เยอรมนี / 32
  5. ฝรั่งเศส / 31
  6. สหราชอาณาจักร / 27
  7. อินเดีย / 27
  8. เม็กซิโก / 27
  9. รัสเซีย / 23
  10. สหรัฐอเมริกา / 20
การแบ่งประเภทของมรดกโลก
 มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว
  1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
    • เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  2. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  3. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
    • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
    • เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
  5. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
เพราะ
เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การปกครองของไทย

การปกครองของไทย

การปกครองสมัยสุโขทัย

     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มี อาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก   ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
     อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
         แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้  
1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  (พ.ศ. 1792 - 1841)
     ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเริ่มจากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนสิ้น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นการปกครองแบบ  พ่อปกครองลูก
     การปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ประชาชนทุกคนเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัว เดียวกัน  โดยมีกษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง  แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว  ทรงยินยอมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองด้วย  ประชาชนจึงเรียกกษัตริย์ว่าพ่อขุน  เช่น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ่อขุนรามคำแหง  เป็นต้น  การปกครองลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนว่า มีความใกล้ชิดกันมาก
     กษัตริย์นอกจากจะเป็นผู้ปกครองและเป็นเสมือนพ่อแล้ว  ยังทรงเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย  จากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ทรงให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตู พระราชวัง  เมื่อพ่อขุนทรงทราบเรื่องก็จะออกมาไต่สวนคดีความด้วยพระองค์เอง
     นอกจากนั้น  ในยามเกิดศึกสงครามพ่อขุนจะทรงเป็นจอมทัพของกองทัพหลวง  เมืองขึ้นต่าง ๆ จะต้องเกณฑ์ทัพมาร่วมกันต่อสู้ป้องกันราชอาณาจักรและเมื่อยามบ้านเมืองสงบ  พ่อขุนจะทรงออกว่าราชการและดูแลทุกข์สุขของราษฎร  เช่น  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระองค์จะทรงออกว่าราชการที่ป่าตาล  โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตรเป็นประจำทุกวัน  ยกเว้นในวันพระและวันโกน  โดยในวันดังกล่าวนี้จะทรงนิมนต์พระเถระให้มาเทศนาสั่งสอนประชาชนเป็นประจำ

2.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย  (พ.ศ. 1841 - 1981)
     หลังจากสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  กษัตริย์องค์ต่อมา  คือ  พญาเลอไทย  และ  พญางั่วนำถม  ในช่วงนี้อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสวยเมืองต่าง ๆ พากันแยกตัวอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย  ภายในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย  มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เนื่อง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มเสื่อมลง
     เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  พระองค์ทรงตระหนักถึงความไม่สงบเรียบร้อยดังกล่าว  และทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียวคง ทำได้ยาก  เพราะกำลังทหารของกรุงสุโขทัยในขณะนั้นไม่เข้มแข็งพอ  พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายใหม่ด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็น หลักในการปกครองอาณาจักร  พร้อมกับได้ขยายอำนาจทางการเมืองออกไป
     การ ปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนี้  เรียกว่า  การปกครองแบบธรรมราชา  กษัตริย์ผู้ปกครองอยู่ในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม  ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม

 การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

      1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
      2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
      3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

 การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น

      1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
      2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว  เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหา กษัตริย์

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
       ลักษณะการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
            1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา
            2. แบบเทวราชา กษัตริย์เป็นสมมติเทพ รับอิทธิพลมาจากขอม

       การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา
          **สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้นำรูปแบบการปกครองของสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้ โดยแบ่งเป็น
                     - ราชธานี
                     - หัวเมืองชั้นใน
                     - เมืองลูกหลวง
                     - หัวเมืองชั้นนอก
                     - เมืองประเทศราช
                 ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี                  จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น
                     - ราชธานี
                     - หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า "ผู้รั้ง"
                     - หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) , แขวง(อำเภอ) , ตำบล , บ้าน

        การปกครองราชธานี
            **การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงแบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่
                     - กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี
                     - กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ
                     - กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง
                     - กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง
                 การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้
            **การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปใหม่เป็น
                     - กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
                     - กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
                     - กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
                     - กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี
                  สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ
                     - สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร
                     - สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน
                  และยังได้กำหนดกฎหมายขึ้น คือ
                    - กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน
                    - กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก 

 

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์
        ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้
              1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
              2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
              3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน
              4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส
              5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน
        การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5
              1. การเลิกทาสและไพร่
              2. การปฏิรูปทางการศึกษา
              3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร
              4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน
              5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง
              6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
              7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม
              8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
              9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ
        การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
              1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา
              2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม
                 และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่
                       1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง
                       2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้
                       3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ
                      4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง
                       5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์
                       6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่
                       7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง
                       8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา
                       9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร
                      10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ
                      11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา
                      12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ
         การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค
                - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง
                - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง
         การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง
                - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
                - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ

         การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6
               1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
               2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา
               3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
               4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล
               5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด

         การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7
               การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน

              หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                     1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
                     2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
                     3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ
                              - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร
                              - ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                              - ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
              หลักการปกครองของคณะราษฎร
                     1. รักษาความเป็นเอกราช
                     2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ
                     3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี
                     4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน
                     5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ
                     6. ให้ประชาชนมีการศึกษา
              การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก
                     1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง
                     2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง
                     3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง
                     4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น

ที่มา http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=106.0 
      http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1622 
      http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/12.html 

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมืองที่มีแนวโน้มจะส่งสมาชิกรับเลือกตั้งครั้งนี้

รายชื่อพรรคการเมือง ปี 2554


สัญญลักษณ์
ชื่อพรรคการเมือง/ชื่อหัวหน้าพรรค
ชื่อย่อ
หมายเลข

พรรค เพื่อไทย
นาง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 

พท.
1.
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
นาย วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 
ชพน. หรือ CPN.
2

พรรค ประชาธิปไตยใหม่
นาย สุรทิน พิจารณ์
 

ปธม. หรือ NDCP.
3

พรรค ประชากรไทย
นาย สุมิตร สุนทรเวช
 

ปชท. หรือ TCP.
4

พรรค รักประเทศไทย
นาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
 

รปท. หรือ R.TL.P
5

พรรค พลังชล
 รศ. เชาวน์ มณีวงษ์
 

พช. หรือ PC
6

พรรค ประชาธรรม
นาย มุคตาร์ กีละ

พปธ. หรือ PCT.
7

พรรค ดำรงไทย
 นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู

ดธ. หรือ DR.P
8

พรรค พลังมวลชน
 นายไกรภพ ครองจักรภพ

พลช. หรือ MPP.
9
พรรค ประชาธิปัตย์
 นาย อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
ปชป. หรือ DP.
10

พรรค ไทยพอเพียง
นาย จำรัส อินทุมาร

ทพ. หรือ TPPP.
11

พรรค รักษ์สันติ
 พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์

รส. หรือ RSP.
12

พรรค ไทยเป็นสุข
 นาย ประดิษฐ์ ศรีประชา

ทปส. หรือ TPS.
13

พรรค กิจสังคม
นาย ทองพูล ดีไพร

กส. หรือ SAP.
14

พรรค ไทยเป็นไทย
 นาย ตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา

ทปท. หรือ T.I.P.
15

พรรค ภูมิใจไทย
นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล

ภท. หรือ BJT
16

พรรค แทนคุณแผ่นดิน
นาย วิชัย ศิรินคร

ทคผ. หรือ TKP.
17

พรรค เพื่อฟ้าดิน
นางสาว ขวัญดิน สิงห์คำ

พฟด. หรือ FHAE.
18

พรรค เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
 นาย โชติ บุญจริง

พนท. หรือ FNTP.
19

พรรค การเมืองใหม่
 นาย สมศัก โกศัยสุข (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติด์ิหน้าที่แทน)

ก.ม.ม. หรือ NPP.
20

พรรค ชาติไทยพัฒนา
 นาย ชุมพล ศิลปอาชา

ชทพ. หรือ CP.
21

พรรค เสรีนิยม
นาย พุทธชาติ ช่วยราม

ส.ร.น. หรือ L.P.
22

พรรค ชาติสามัคคี
 นาย นพดล ไชยฤทธิเดช

ช.ส.ม. หรือ C.S.P.
23

     พรรค บำรุงเมือง
นาย สุวรรณ ประมูลชัย

บม. หรือ B.M.P.
24

พรรค กสิกรไทย
นาย จำลอง ดำสิม

กท. หรือ KT.
25

พรรค มาตุภูมิ
 พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

มภ. หรือ MB.
26

พรรค ชีวิตที่ดีกว่า
นาย พจน์กรณ์ ตันติภิรมย์

พชก. หรือ BLP.
27

พรรค พลังสังคมไทย
นาย วิวัฒน์ เลอยุกต์

พสท. หรือ RSTP.
28
พรรค เพื่อประชาชนไทย
 นาย ดิเรก กลิ่นจันทร์
 
พ.ป.ท. หรือ R.T.P.
29
พรรค มหาชน
นาย อภิรัต ศิรินาวิน
พมช. หรืิอ MCP.
30

พรรค ประชาชนชาวไทย
นาย สุนทร ศรีบุญนาค

ปชชท. หรือ RCCTP.
31
พรรค รักแผ่นดิน
 นาย ประทีป ประภัสสร
รผด. หรือ RPD.
32

พรรค ประชาสันติ
 นาย ดลสวัสด์ิ ชาติเมธี (รองหัวหน้าพรรครักษาการแทน)

ปส. หรือ CPP.
33

พรรค ความหวังใหม่
นาย ชิงชัย มงคลธรรม

ควม. หรือ NAP.
34

พรรค อาสามาตุภูมิ
นาย มนตรี เศรษฐบุตร

อ.ส.ม. หรือ A.R.A.
35

พรรค พลังคนกีฬา
 นาย วนัสธนา สัจจกุล

พ.ก. หรือ S.P.O.T.
36
พรรคพลังชาวนาไทย (PALUNGCHAWNATHAI)  

พรรค พลังชาวนาไทย
นายสัมฤทธ์ิ แก้วทน

พ.ชนท. หรือ P.CNT.
37

พรรค ไทยสร้างสรรค์
 นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์ (เลขาธิการพรรครักษาการแทน)

ท.ส. หรือ T.S.
38

พรรค เพื่อนเกษตรไทย
 นายทรงเดช สุขขำ (รองหัวหน้าพรรคปฏิบัติหน้าที่แทน)

พ.ก.ท. หรือ P.K.T.
39

พรรค มหารัฐพัฒนา
 นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์

ม.ร.พ. หรือ M.R.P.