วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษ รายงานผลเลือกตั้ง

งานพิเศษ รายงานผลเลือกตั้ง

รายงานผลการเลือกตั้ง

นับคะแนนไปแล้ว
100 %
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ35,203,107 คน75.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (แบ่งแขต)1,419,088 บัตร4.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (บัญชีรายชื่อ)958,052 บัตร2.72 %
บัตรเสีย (แบ่งแขต)2,039,694 บัตร5.79 %
บัตรเสีย (บัญชีรายชื่อ)1,726,051 บัตร4.9  %


คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ

ที่มา Bangkok Pundit

พรรคคะแนนร้อยละที่นั่ง
พรรคเพื่อไทย (พท.)15,743,41048.0%61
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)11,433,50135.1%44
พรรคภูมิใจไทย (ภท.)1,281,5224.03%5
พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์)998,5273.0%4
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)494,8941.6%2


พรรคการเมืองที่ได้จำนวนที่นั่งสูงสุด 5 อันดับแรก

ที่มา: มติชน

อันดับพรรคการเมืองจำนวนที่นั่งแบบแบ่งแขตจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนที่นั่งรวม
1พรรคเพื่อไทย (พท.)20461265
2พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)11544159
3พรรคภูมิใจไทย (ภท.)29534
4พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)15419
5พรรคหลังชล617
5พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)527

พรรคร่วมรัฐบาล 6 คน
1.นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคกิจสังคม ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2.นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
3.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา รมช.เกษตรและสหกรณ์ ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
4.นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
5.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา รองนายกฯ ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
6.ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
ฝ่ายค้านแต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมฝ่ายค้านทั้งสิ้นกี่คน

พรรคฝ่ายค้าน 7 คน ดังนี้
1.นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.นายสมพล เกยุราพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
3.นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
4.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
5.นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาราช ถือหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
6.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
7.นายอิทธิเดช แก้วหลวง ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

งานพิเศษ มรดกโลก

งานพิเศษ มรดกโลก

มรดกโลก
มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น
ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป



ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด

     ลำดับประเทศ / รวม
  1. อิตาลี / 41
  2. สเปน / 40
  3. จีน / 35
  4. เยอรมนี / 32
  5. ฝรั่งเศส / 31
  6. สหราชอาณาจักร / 27
  7. อินเดีย / 27
  8. เม็กซิโก / 27
  9. รัสเซีย / 23
  10. สหรัฐอเมริกา / 20
การแบ่งประเภทของมรดกโลก
 มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว
  1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
    • เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  2. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  3. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
    • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
    • เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
  5. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
    • เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
เพราะ
เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การปกครองของไทย

การปกครองของไทย

การปกครองสมัยสุโขทัย

     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มี อาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก   ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
     อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
         แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้  
1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  (พ.ศ. 1792 - 1841)
     ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเริ่มจากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนสิ้น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นการปกครองแบบ  พ่อปกครองลูก
     การปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ประชาชนทุกคนเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัว เดียวกัน  โดยมีกษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง  แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว  ทรงยินยอมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองด้วย  ประชาชนจึงเรียกกษัตริย์ว่าพ่อขุน  เช่น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ่อขุนรามคำแหง  เป็นต้น  การปกครองลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนว่า มีความใกล้ชิดกันมาก
     กษัตริย์นอกจากจะเป็นผู้ปกครองและเป็นเสมือนพ่อแล้ว  ยังทรงเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย  จากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ทรงให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตู พระราชวัง  เมื่อพ่อขุนทรงทราบเรื่องก็จะออกมาไต่สวนคดีความด้วยพระองค์เอง
     นอกจากนั้น  ในยามเกิดศึกสงครามพ่อขุนจะทรงเป็นจอมทัพของกองทัพหลวง  เมืองขึ้นต่าง ๆ จะต้องเกณฑ์ทัพมาร่วมกันต่อสู้ป้องกันราชอาณาจักรและเมื่อยามบ้านเมืองสงบ  พ่อขุนจะทรงออกว่าราชการและดูแลทุกข์สุขของราษฎร  เช่น  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระองค์จะทรงออกว่าราชการที่ป่าตาล  โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตรเป็นประจำทุกวัน  ยกเว้นในวันพระและวันโกน  โดยในวันดังกล่าวนี้จะทรงนิมนต์พระเถระให้มาเทศนาสั่งสอนประชาชนเป็นประจำ

2.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย  (พ.ศ. 1841 - 1981)
     หลังจากสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  กษัตริย์องค์ต่อมา  คือ  พญาเลอไทย  และ  พญางั่วนำถม  ในช่วงนี้อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสวยเมืองต่าง ๆ พากันแยกตัวอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย  ภายในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย  มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เนื่อง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มเสื่อมลง
     เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  พระองค์ทรงตระหนักถึงความไม่สงบเรียบร้อยดังกล่าว  และทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียวคง ทำได้ยาก  เพราะกำลังทหารของกรุงสุโขทัยในขณะนั้นไม่เข้มแข็งพอ  พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายใหม่ด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็น หลักในการปกครองอาณาจักร  พร้อมกับได้ขยายอำนาจทางการเมืองออกไป
     การ ปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนี้  เรียกว่า  การปกครองแบบธรรมราชา  กษัตริย์ผู้ปกครองอยู่ในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม  ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม

 การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

      1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
      2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
      3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

 การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น

      1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
      2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว  เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหา กษัตริย์

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
       ลักษณะการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
            1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา
            2. แบบเทวราชา กษัตริย์เป็นสมมติเทพ รับอิทธิพลมาจากขอม

       การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา
          **สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้นำรูปแบบการปกครองของสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้ โดยแบ่งเป็น
                     - ราชธานี
                     - หัวเมืองชั้นใน
                     - เมืองลูกหลวง
                     - หัวเมืองชั้นนอก
                     - เมืองประเทศราช
                 ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี                  จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น
                     - ราชธานี
                     - หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า "ผู้รั้ง"
                     - หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) , แขวง(อำเภอ) , ตำบล , บ้าน

        การปกครองราชธานี
            **การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงแบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่
                     - กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี
                     - กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ
                     - กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง
                     - กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง
                 การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้
            **การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปใหม่เป็น
                     - กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
                     - กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
                     - กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
                     - กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี
                  สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ
                     - สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร
                     - สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน
                  และยังได้กำหนดกฎหมายขึ้น คือ
                    - กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน
                    - กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก 

 

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์
        ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้
              1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
              2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
              3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน
              4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส
              5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน
        การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5
              1. การเลิกทาสและไพร่
              2. การปฏิรูปทางการศึกษา
              3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร
              4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน
              5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง
              6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
              7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม
              8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
              9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ
        การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
              1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา
              2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม
                 และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่
                       1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง
                       2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้
                       3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ
                      4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง
                       5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์
                       6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่
                       7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง
                       8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา
                       9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร
                      10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ
                      11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา
                      12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ
         การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค
                - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง
                - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง
         การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง
                - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
                - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ

         การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6
               1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
               2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา
               3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
               4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล
               5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด

         การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7
               การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน

              หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                     1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
                     2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
                     3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ
                              - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร
                              - ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                              - ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
              หลักการปกครองของคณะราษฎร
                     1. รักษาความเป็นเอกราช
                     2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ
                     3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี
                     4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน
                     5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ
                     6. ให้ประชาชนมีการศึกษา
              การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก
                     1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง
                     2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง
                     3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง
                     4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น

ที่มา http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=106.0 
      http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1622 
      http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/12.html